HAP - TD D-Wave

อินดิเคเตอร์ (HAP - TD D-Wave) ต้องกล่าวถึง Elliott Wave เนื่องจากเป็นการต่อยอดจาก ทฤษฎี Elliott Wave

บ่อยครั้งที่นักวิเคราะห์ Technical พยายามทำกำไรจากการใช้ Elliott Wave ในตลาด ซึ่งสิ่งนี้ช่วยบ่งบอกว่าการเคลื่อนไหวของราคาหรือแนวโน้มถัดไปจะเป็นอย่างไร เพราะมันเป็นการเคลื่อนที่ในรูปแบบขึ้นและลง แบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเรียกว่าคลื่นที่ถูกสร้างขึ้นโดยจิตวิทยาของนักลงทุนหรือความเชื่อมั่นที่มองในลักษณะเดียวกันจึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาในรูปแบบต่างๆ

access
ทำไม Elliott Wave ถึง น่าสนใจ?

      Elliott Wave ทฤษฎีนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าการขึ้นและลงของราคา อันเกิดจากนักวิเคราะห์ภายใต้จิตวิทยา ในมุมมองหรือลักษณะเดียวกันบ่อยๆ จึงสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบซ้ำ ๆ และทฤษฎี Elliott wave เอง ก็สังเกตเห็นว่าตลาดการเงินทั้งหมดเคลื่อนไหวใน รูปแบบซิกแซก ซึ่งมันถูกเรียกว่า วัฏจักรคลื่น ด้วยทฤษฎีนี้ Elliott wave สามารถวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึกมากขึ้นโดยการระบุลักษณะของรูปคลื่น และทำให้คาดการณ์ตลาดโดยละเอียดตามรูปแบบเหล่านี้ได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้ ทฤษฎี Elliott Wave น่าสนใจสำหรับเทรดเดอร์ เนื่องจากมีวิธีที่ชัดเจน ในการระบุจุดราคาที่มีแนวโน้มในการกลับตัวของราคา กล่าวอีกนัยหนึ่ง Elliott wave มีระบบที่ช่วยให้ผู้ค้าสามารถติดตามแนวโน้มได้ และพิจารณาทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาได้ง่ายขึ้นในอนาคต และเป็นสิ่งที่ยากสำหรับการระบุจุดเริ่มต้นของราคาเพื่อเริ่มนับคลื่น จึงทำให้เหล่านักเทรดแต่ละคนมองในมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ซึ่ง Indicator TD D-Wave ของ HAP เองจะมาช่วยในการรับรู้การเคลื่อนไหวของราคา เพื่อจะนับคลื่นได้อย่างอัตโนมัติ

เกี่ยวกับ Indicator TD D-Wave

ภาพรวมระบบ TD D-Wave

First
เริ่มเรียนรู้กับเราฟรี

HAP - TD D-Wave.

นี้คือข้อมูลการเรียนรู้ของเรา คุณสามารถศึกษาเกี่ยวกับ TD D-Wave และวิธีการใช้เครื่องมือ ได้ที่นี้ โปรดทราบว่าข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา คุณสามารถแวะเข้ามาเยี่ยมชมได้ตลอดเวลา.

feature

เกี่ยวกับ indicator TD D-Wave

      สำหรับ indicator นี้ รองรับการนับทั้ง impulse wave และ corrective wave ซึ่ง TD D-Wave สามารถบ่งบอกถึงทิศทางของตลาด ที่คุณสามารถใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายราคาและแยกจุดอ่อนตัวออกจากแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ตามการเคลื่อนไหวของราคาสัมพัทธ์ และกฎที่ละเอียดอ่อนของ Thomas R. DeMark ที่ระบบค่อยคำนวณให้อัตโนมัติ โดยคุณไม่ต้องจำสูตร หรือกฎมากมายให้ยุ่งยาก ในการตั้งค่าสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนการตั้งค่าอะไรแล้วเพราะค่าเริ่มต้นคือกฎมาตรฐานของ Thomas แล้ว นอกจากเรื่องของสีหรือรูปแบบการแสดงผลตามที่คุณต้องการ

      Thomas R. DeMark ได้มีการคิดค้น กฎแปลกๆที่ใช้ร่วมกับ Elliott Wave จนอดคิดไม่ได้ว่า (แบบนี้ก็ได้ด้วยหรอ) หรือมันผิดไหม แต่สามารถใช้ได้จริงกับตลาดการเงิน ซึ่งได้รับการยอมรับจากเหล่าเทรดเดอร์ มืออาชีพ ร่วมถึงสถาบันการเงิน

      โดย TD D-Wave ซึ่งให้นามโดย Thomas R. DeMark ที่ตั้งชื่อนี้มา โดยจะสังเกตได้ว่าจะมี TD นำหน้าเสมอถ้าเป็นกฎของเขาที่ได้นำมาเรียบเรียงใหม่ อาทิ TD Setup , TD SetupTrend , TD Countdown , TD Sequential, TD Combo และอื่นๆอีกมากมายที่เขาได้คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ ฉะนั้น TD D-Wave มีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน (ซึ่งอาจแตกต่าง) จากกฎของ Elliott Wave โดยตรง ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้กับตลาดหรือกรอบเวลาใดก็ได้โดยไม่คำนึงถึง ความผันผวน จากการเคลื่อนไหวของราคา เช่นเหตุการณ์ pump and dump เพราะมีวิธีการรูปแบบ การนับคลื่นจากการคำนวณของจำนวนแท่งเทียน แทนที่จะเป็นการหาคลื่นจากการ Swing ของราคาแบบปกติ และ ไม่จำเป็นต้องพิจารณา Wave Degree ให้เกิดความซับซ้อน

      ดังนั้น Indicator นี้ ใช้ TD D-Wave ซึ่งจะอิงตามกฎโดย Thomas R. DeMark โดยวิธีการนี้จึงมาจาก ทฤษฎี Elliott Wave และได้เสริมแต่งโดย Thomas R. DeMark ซึ่งอาจทำให้กฎบางประการแตกต่างไปจากกฎพื้นฐาน ของ Elliott Wave บางประการ

feature

คุณสมบัติ Indicator TD D-Wave

1. วาดเส้นของคลื่นได้แบบ Real time บ่งบอกถึงในขณะนั้น ตลาดอยู่ใน Wave อะไร

2. ระบุพื้นที่เป้าหมายของคลื่น 3 , 5 , C . โดยอัตโนมัติ

3. สแกนหาคู่สกุลพร้อมกัน ทำให้สามารถรับรู้สภาวะตลาดในแต่ละรายการ ว่าคลื่นปัจจุบันคือคลื่นอะไรใน TF ไหน ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องไปเปิดหาทีละคู่

4. ระบุคลื่นเฉพาะ ที่ต้องการกรอง

5. แสดงทั้งคลื่นขาลง(Bear)และขาขึ้น(Bull)

6. แสดงอัตราส่วน Real time ของแต่ละคลื่น (เมื่อนำเมาส์ไปวางที่เลขคลื่น)

7. กฏของแต่ละคลื่นที่สามารถปรับได้อย่างยืดหยุ่น

8. ป้ายแสดงล่วงหน้า เมื่อมี% ที่อาจจะเกิดคลื่นต่อไปว่าเป็นเวฟอะไรต่อ

9. แจ้งเตือนเมื่อพบคลื่นที่มีโอกาสจะเกิดล่วงหน้า

10. แจ้งเตือนเมื่อพบจุดเริ่มต้นของคลื่นที่กำหนด

11. แจ้งเตือนเมื่อคลื่น 2,4,A,B ล้มเหลว

12. แจ้งเตือนเมื่อพบคลื่นที่กำลังขยายตัวอีกครั้ง

13. รูปแบบการแจ้งเตือนแบบ multiple (ประหยัดAlert ของคุณ เพียงตั้งแค่1 ครั้ง ก็รับสัญญาณแจ้งเตือนทุกเงือนไขตามข้อ 9-12)

14. การแยกสี ของชุดคลื่น (Bull) และ (Bear) ปรับแต่งได้อย่างอิสระ

15. ตี Trend Channel จากการสวิงของราคาควบคู่แบบอัตโนมัติ

16. รองรับกรอบเวลาทั้งหมดและ Crypto, หุ้น, Forex

17. รองรับความผันผวน จากการเคลื่อนไหวของราคาทุกสภาวะตลาด

feature

สำหรับการเข้าถึง Indicator TD D-Wave

       สำหรับการเข้าถึง indicator เมื่อท่านได้แจ้ง Username Tradingview ให้ทางเราได้ทราบแล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบได้จากหน้า Indicator ของ Tradingview ตามรูป ซึ่งเป็นindicator แบบคำเชิญเพื่อรับสิทธิ์ให้สามารถเข้าถึง indicator ได้ ให้สังเกตตรง AUTHOR hapharmonic นั้นคือตัว indicator ที่คุณได้รับสิทธิ์การเข้าถึง ที่เป็นของเรา

First

สำหรับท่านที่ใช้มือถือในการติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้

First

การตั้งค่าและส่วนการแสดงผลอย่างละเอียด


การตั้งค่า
1
เริ่มต้นด้วยส่วนของการวาดภาพคลื่น
การตั้งค่า
2
ปรับแต่งสีของแต่ละคลื่น

การตั้งค่า
3
พื้นที่เป้าหมาย

การตั้งค่า
4
อีโมจิเพื่อสังเกตคลื่น 3 5 C ได้อย่างง่ายดาย
การตั้งค่า
5
มาในส่วนถัดไป การ Scan คู่สกุล

การตั้งค่า
6
ระบุคลื่นที่คุณต้องการกรอง

การตั้งค่า
7
ปรับแต่งสีได้ตามต้องการ

feature

Note

       ** ใน Version ที่มีตัว Scan ในตัว ตอนเปลี่ยนไปดูคู่สกุลหรือตอนเปลี่ยนแปลงค่าภายใน indicator โปรดทราบว่าอาจมีความล่าช้าในการโหลดหน้าต่างให้รอสักครู่ เนื่องจากมีการ Requests จากคู่สกุลเงินอื่นๆก็คือตัว Scan รายการคู่สกุลพร้อมๆกัน จึงทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งมีการใช้ ทรัพยากรหน่วยความจำฝั่ง Server Tradingview พอสมควร

First

ดังนั้นตอนคุณจะติดตั้ง indicator คุณจะเห็นว่ามี version mobile อยู่ด้วย สามารถพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความต้องการ นั้นจะเป็น Version ที่มีการทำงานเร็ว เพราะไม่มีตัว Scan มาเกี่ยวข้อง

Trend Chanel

         ตี Trend Chanel อัตโนมัติ เป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมที่เล็งเห็นถึงความเหมาะสมเมื่อใช้คู่กัน การตั้งค่าตรงส่วน Trend Channel ไม่ค่อยมีอะไรให้ปรับมากมาย มีเพียงแค่ Period(Bar) นั้นคือการคำนวณย้อนหลังของจุดเริ่มต้นของการวัด Channel ค่าพื้นฐานคือ 85 นั้นคือ การตีเส้นจะย้อนหลังไป (85แท่งเทียน) ไม่ว่าจะใช้ TF ไหนก็ตาม หน่วยของมันคือจำนวนแท่งเทียน และส่วนอื่นๆก็จะเป็นรูปแบบการแสดงผล สามารถลองปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง

feature

หลักการพื้นฐานของทฤษฎี (Elliot Wave) ที่ DeMark กล่าวถึง

         คำอธิบายถึงตัวชี้วัด TD D-Wave ก่อนที่คุณจะทำความเข้าใจว่าหลักการของ TD D-Wave นั้น มีการทำงานอย่างไร เพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายต่อจากนี้ คุณควรมีพื้นฐานทฤษฎี Elliot Wave มาบ้าง หากไม่เคยทำความเข้าใจในทฤษฎีดังกล่าวมาเลย แล้วมาอ่านเพื่อเรียนรู้กฎของ TD D-Wave ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Elliot Wave ก็จะทำให้เกิดความสับสนเอาได้ และยากต่อการเข้าใจ เอาหละ เราลองมาดูส่วนสำคัญในหลักการของทฤษฎี TD D-Wave โดย Thomas DeMark. ได้มองเห็นบางอย่างจากการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด และเขาได้คิดกฎที่น่าสนใจ ที่แตกต่างออกไปจากทฤษฎี Elliot Wave ในบางประการ และเราจะเห็นถึงวิธีที่ DeMark ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมันเพื่อที่จะนำไปใช้กับตลาดหรือกรอบเวลาใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึง ความผันผวน จากการเคลื่อนไหวของราคา เช่นเหตุการณ์ pump and dump หรือการเคลื่อนที่ของราคาแบบหลอกตา เพราะหลักการของ TD D-Wave มีวิธีการรูปแบบ การนับคลื่น จากการคำนวณของจำนวนแท่งเทียน แทนที่จะเป็นการหาคลื่นจากการ Swing ของราคาแบบปกติ และ ไม่จำเป็นต้องพิจารณา Wave Degree ให้เกิดความซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย

         เหมือนกับในกรณีของทฤษฎี TD Sequential (หนึ่งในเครื่องมือการเทรดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย) คู่กับ Elliot Wave Theory ฉะนั้น (ตัวชี้วัด TD D-Wave) มีข้อได้เปรียบชัดเจน ซึ่งคุณสามารถประยุกต์ใช้กับตลาดไหนก็ได้ หรือกรอบเวลาใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานของความผันผวนของเครื่องมือที่ถูกใช้วิเคราะห์ (ตัวชี้วัด TD D-Wave) สามารถช่วยเตรียมแผนกลยุทธ์สำหรับทิศทางของตลาดไว้ให้ได้แบบอัตโนมัติ คุณสามารถนำไปใช้เพื่อจำแนกราคาเป้าหมายและใช้ในการตัดสินใจ เมื่อตลาดเกิดสภาวะการอ่อนตัวลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ช่วงเวลาที่ยากมากที่สุดคือช่วงที่เราใช้ทฤษฎี Elliot Wave Theory เข้ามาจำแนกคลื่นสุดท้าย เพราะในบางครั้ง มันยาก ที่จะระบุว่า ตลาดอยู่ในคลื่น 3 หรือคลื่น C หรือคลื่น 5 ที่กำลังขยายกันแน่

ผสมผสาน (Elliot Waves) ตามทฤษฎีของ ดีมาร์ค (DeMark’s Waves)

         ดีมาร์คได้แก้ไขปัญหานี้โดยการแนะนำจำนวนแท่งเทียนที่พอต่อความต้องการ เพื่อที่ว่าคุณจะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับคลื่นในแต่ละคลื่นได้ง่าย ดีมาร์คยังได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ เวอร์ชั่นอีเลียตเวฟ กฎเวลาของดีมาร์คได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คุณจำเป็นที่จะต้องรอให้แต่ละคลื่น จบสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มทำคลื่นต่อไป ตามหลักจำนวนของแท่งเทียน

กฎด้านเวลาของ TD ตาม เงื่อนไข D-Wave

กฎด้านเวลาของ TD ตาม เงื่อนไข D-Wave

       *การวัดตำแหน่งของราคาจากการพิจารณาจุดการวัดคลื่นต้นฉบับ DeMark จะใช้ ตำแหน่ง High และ Low ในการวัด แต่ Jason Perl ชอบที่จะใช้แท่งเทียนราคาปิด(Close)เนื่องจาก การเคลื่อนไหวของราคาอย่างกะทันหันหรือการกะทันหันเป็นครั้งคราวที่เกิดไส้เทียนยาวๆ อาจทำให้การนับคลื่นไม่มีประสิทธิภาพในบางครั้ง ดังนั้นคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ และกฎการจับเวลาของ DeMark ได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับแต่ละเวฟเพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่จะเริ่มทำ Wave ถัดไปดังนี้
Responsive image
กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 1

      1. จุดเริ่มต้นของ TD D-Wave Sequence จะถูกกำหนด เมื่อตลาดนับได้ถึงแท่งที่ 21 Low(Close) จากอดีตถึงปัจจุบัน หากแท่งที่21 ดังกล่าว ราคาปิด ต่ำกว่าราคาปิด 20 แท่งก่อนหน้าทั้งหมด จะทำให้เข้าเกณฑ์การพิจารณาว่า ถึงเวลาเริ่มนับจุดเริ่มต้นคลื่น1ได้แล้วเพราะพักตัวมาได้สักระยะแล้ว

      2. เมื่อเงื่อนไขในข้อที่1เป็นจริง(ก็จะนับต่อ)เมื่อเริ่มนับต่อของจำนวนแท่งเทียนตลาดจะต้องเกิดราคา High(Close) ที่ 13 แท่ง แบบติดต่อกัน หากแท่งที่13 ดังกล่าว ราคาแท่งปิดสูงกว่า 12 แท่งก่อนหน้า นั้นจะยืนยันถึงจุดเริ่มต้นของ TD D-Wave Sequence และ จะเป็นการกำหนดให้ตลาดอยู่ในคลื่นที่ 1

      3. แต่คลื่นที่ 1 จะยังไม่จบหรือเสร็จสมบูรณ์ หากตลาดไม่ได้เกิด ราคา Low(Close) 8 แท่ง แบบติดต่อกัน กล่าวคือ เมื่อราคากำลังทำเวฟ1อยู่ดีๆ แต่อยู่ดีๆราคาร่วงลงมาแบบติดต่อกัน 8 แท่ง จากที่มันกำลังทำเวฟ1 ดังนั้น หากแท่งที่8 ดังกล่าว ราคาแท่ง Low(Close) ต่ำกว่า 7 แท่งก่อนหน้านั้นจะเป็นการยืนยันได้แล้วว่าจบคลื่นที่1 และคลื่นที่ 2 กำลังประกอบเป็นรูปเป็นร่างอยู่ตามข้อกำหนดถัดไป

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 2

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่นที่ 2 คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave 1ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ ตลาดเริ่มร่วงลงมาแบบติดต่อกัน 8 แท่ง จากที่มันกำลังทำเวฟ1และเมื่อราคา Low(Close) ของแท่งที่8 ดังกล่าว ต่ำกว่า 7 แท่งก่อนหน้า นั้นจะเป็นการยืนยันได้แล้วว่าจบคลื่นที่1 และคลื่นที่2กำลังก่อตัว

      2. จากนั้น เมื่อคลื่นที่ 2 กำลังเคลื่อนตัวอยู่ไปสักระยะ จนกระทั่งราคาเริ่มมีการสวิงกลับขึ้นไป แล้วหากเรานับย้อนหลังกลับมา ได้ 21 แท่ง จากอดีดถึงปัจจุบัน หากแท่งที่21 High(Close) ดังกล่าวหรือแท่งปัจจุบัน ราคาปิด สูงกว่าราคาปิด 20 แท่งก่อนหน้า เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าคลื่น2ได้จบลงแล้ว และตลาดกำลังเคลื่อนตัวในคลื่น3

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 3

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่นที่ 3 คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave 2 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ เมื่อคลื่นที่ 2 กำลังเคลื่อนตัวอยู่ไปสักระยะ จนกระทั่งราคาเริ่มมีการสวิงกลับขึ้นไป แล้วหากเรานับย้อนหลังกลับมา ได้ 21 แท่ง แล้วแท่ง ที่21สูงกว่า20แท่งก่อนหน้า นั้นจะเป็นการยืนยันของสถานะคลื่นที่3

      2. แต่คลื่นที่ 3 จะยังไม่จบหรือเสร็จสมบูรณ์ หากตลาดไม่ได้เกิด ราคา Low(Close)จำนวน 13 แท่ง ร่วงแบบติดต่อกัน กล่าวคือ เมื่อเงื่อนไขข้อแรกเป็นไปตามข้อกำหนด และราคามีการปรับตัวลงมาสักระยะจนครบ 13แท่ง และหากแท่งที่13 ดังกล่าว มีราคาปิด ต่ำกว่าราคาปิด 12 แท่งก่อนหน้า ซึ่งหมายความว่าคลื่นที่ 3 จบหรือสมบูรณ์แล้ว และคลื่นที่ 4 กำลังก่อตัวอยู่นั้นเอง

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 4

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่นที่ 4 คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave 3 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ เมื่อราคากำลังทำเวฟ3อยู่ดีๆ ผ่านไปสักระยะราคามีการปรับตัวลงมาจนครบ 13แท่ง และหากแท่งที่13 ดังกล่าว มีราคาปิด ที่ต่ำกว่าราคาปิด 12 แท่งก่อนหน้าทั้งหมด ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ทราบว่า คลื่นที่ 3 จบหรือสมบูรณ์แล้ว และคลื่นที่ 4 กำลังก่อตัวอยู่

      2. คลื่นที่ 4จะถูกพิจารณาว่าจบหรือสมบูรณ์แล้วก็ต่อเมื่อ ตลาดเริ่มสวิงกลับขึ้นไป แล้วหากเรานับย้อนหลังกลับมา ได้ 34 แท่ง จากอดีดถึงปัจจุบัน หากแท่งที่34 High(Close) ดังกล่าว ราคาปิด สูงกว่าราคาปิด 33 แท่งก่อนหน้าทั้งหมด เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า ตลาดกำลังเคลื่อนตัวในคลื่นที่5

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 5

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่นที่ 5 คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave 4 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ ตลาดจะต้องเคลื่อนที่มาได้ 34 แท่ง และเมื่อเรานับย้อนหลังไป33แท่ง (ราคา High(Close)ของแท่งล่าสุด ราคาปิดจะต้องสูงกว่า ราคาปิด 33 แท่งก่อนหน้าทั้งหมด) จึงจะเป็นการส่งสัญญาณให้ทราบว่า คลื่นที่ 4 เสร็จสมบูรณ์แล้วและคลื่นที่ 5 กำลังก่อตัวอยู่

      2. คลื่นที่ 5 จะถูกพิจารณาว่าจบหรือสมบูรณ์แล้ว ก็ต่อเมื่อตลาด เริ่มมีการปรับตัวลงมา จนครบ13แท่ง กล่าวคือ ราคา Low(Close)แท่งที่ 13 มีราคาปิด ต่ำกว่าราคาปิด 12 แท่งก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของคลื่น A

      *แต่อาจยังไม่จบ (อ่านต่อในหัวข้อ การจำแนกแยกแยะเป้าหมายสูงสุดสำหรับคลื่นที่ 5 และ C)

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ A

       1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่น A คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave 5 ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ เมื่อราคากำลังทำเวฟ5อยู่ดีๆ ผ่านไปสักระยะราคามีการปรับตัวลงมาจนครบ 13แท่ง และราคา Low(Close)แท่งที่ 13 มีราคาปิด ต่ำกว่าราคาปิด 12 แท่งก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของคลื่น A

      2. คลื่นที่ A จะถูกพิจารณาว่าจบหรือสมบูรณ์แล้ว ก็ต่อเมื่อตลาด เริ่มมีการปรับตัวขึ้นไป จนครบ8แท่ง กล่าวคือ ราคา High(Close)แท่งที่ 8 มีราคาปิด สูงกว่าราคาปิด 7 แท่งก่อนหน้านี้ทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของคลื่น B

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ B

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่น B คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave A ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ เมื่อราคาเริ่มมีการปรับตัวขึ้นไป ในขณะที่กำลังทำคลื่น A แล้วการปรับตัวขึ้นไปนั้น ราคา High(Close)แท่งที่ 8 มีราคาปิด สูงกว่าราคาปิด 7 แท่งก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของคลื่น B

      2. แต่คลื่น B จะถูกพิจารณาว่าจบหรือสมบูรณ์แล้วก็ต่อเมื่อ ตลาดเริ่มร่วงลงมา 21 แท่งแบบติดต่อกัน และเมื่อ ราคา Low(Close)แท่งที่ 21 มีราคาปิด ต่ำกว่า ราคาปิด 20 แท่งก่อนหน้าทั้งหมด ก็จะแสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของคลื่น C

กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ C

      1. เงื่อนไขข้อแรกของคลื่น C คือ ข้อกำหนดสุดท้ายของ Wave B ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วนั่นก็คือ ราคา Low(Close)แท่งที่ 21 มีราคาปิด ต่ำกว่า ราคาปิด 20 แท่งก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของคลื่น C

      2. เมื่อเงื่อนไขแรกถูกต้อง จากนั้นคลื่น Cจะถูกล๊อกเอาไว้ เมื่อราคา Low(Close)ปัจจุบันของคลื่น C ต่ำกว่าราคา Low(Close) ของคลื่น A ความหมายคือ คลื่น 1,2,3,4,5,A และ B จะถูกยึดไว้กับที่ในตำแหน่งเดิมของมัน เมื่อ C ต่ำกว่า A ไม่ให้มีการเลื่อนหรือเปลี่ยนตำแหน่งอีกแล้ว จนกว่าจะทำรอบคลื่นใหม่ ในการทำคลื่นใหม่ สมมุติว่าคลื่นใหม่ที่เกิด เป็น1 และ 2 หากคลื่น2 ต่ำกว่าคลื่น1 คลื่น C ก็จะเปลี่ยนตำแหน่งและยืดต่อไปจนกว่ารอบคลื่นที่เกิด จะถูกต้อง เพราะ Thomas DeMark มองว่า นั้นคือ Noise signal และไม่ใช่แค่คลื่น C ที่ Thomas DeMark มองเช่นนี้ ยังรวมไปถึงทุกคลื่นอีกด้วย เพราะด้วยวิธี การนับจำนวนแท่งเทียนของ Thomas DeMark จึงทำให้สามารถระบุคลื่นได้ง่าย โดยไม่สนใจถึง Wave Degree หรือกระทั่งความผันผวนของราคา

      *แต่อาจยังไม่จบ (อ่านต่อในหัวข้อ การจำแนกแยกแยะเป้าหมายสูงสุดสำหรับคลื่นที่ 5 และ C)

Responsive image
กฎเกณฑ์เพิ่มเติมในการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด TD D-Wave กับตลาดที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น
feature

กฎเกณฑ์เพิ่มเติมในการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัด TD D-Wave กับตลาดที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น

      1. ราคาปิดจุดสูงสุดของ Wave 3 จะต้องสูงกว่าจุดปิดสูงสุดของราคาปิด Wave 1 และคลื่นที่ 5 จะต้องมีจุดปิดสูงสุด ของราคาปิด มากกว่าคลื่นที่ 3

      2. หากการย้อนกลับ จาก Wave 1 นั้น ตื้นมากเกินไป จนการปรับตัวลงของราคานั้น มีการปรับตัวลงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จําเป็นในการเริ่มต้นของ Wave 2 และ ตลาดฟื้นตัวเหนือระดับที่เคย ปิดสูงของ Wave 1 ในเวลาต่อมา จะทำให้ Wave 1 เลื่อนไปตาม Bar ที่เกิด ตามระดับ High close ใหม่

      3. หากการย้อนกลับ จาก Wave 3 นั้น ตื้นมากเกินไป จนการปรับตัวลงของราคานั้น มีการปรับตัวลงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จําเป็นในการเริ่มต้นของ Wave 4 และตลาดฟื้นตัวเหนือระดับที่เคย ปิดสูงของ Wave 3 ในเวลาต่อมา จะทำให้ Wave 3 เลื่อนไปตาม bar ที่เกิด ตามระดับ High close ใหม่

      4. หากการย้อนกลับ จาก Wave 5 นั้น ตื้นมากเกินไป จนการปรับตัวลงของราคานั้น มีการปรับตัวลงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จําเป็นในการเริ่มต้นของ Wave A และตลาดฟื้นตัวเหนือระดับที่เคย ปิดสูงของ Wave 5 ในเวลาต่อมา จะทำให้ Wave 5 เลื่อนไปตาม Bar ที่เกิด ตามระดับ High close ใหม่

      5. Wave 5 จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ Wave C มีราคาปิดต่ำกว่า ราคาปิดต่ำของ Wave A ที่ผ่านมาเท่านั้น บนพื้นฐานของกฎจำนวนแท่งเทียน ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น แต่พบเพียงว่า Wave B ที่กำลังเกิดอยู่ใน ณ. ขณะนั้น วิ่งทะลุ หรือทำจุดสูงสุดใหม่ ที่สูงกว่า จุดปิดสูงของ Wave 5 ก่อนหน้า ก็จะทำให้ Wave A และ Wave B ถูกลบออกจากการนับคลื่นทันที และ ทำให้ Wave 5 ที่เกิดขึ้นในอดีต มีการเลื่อนตำแหน่ง มายังแท่งเทียนใหม่ ใน Bar ปัจจุบันทันที

      6. ถ้าราคาปิดของ Wave 2 ต่ำกว่าราคาปิดต่ำของ Wave 1 จะทำให้ Wave 1 ถูกลบออกไปทันที และ การนับจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง (ในทำนองเดียวกัน สมมุติถ้าตลาดกำลังอยู่ใน Wave 4 หากราคาปิดต่ำของ Wave 4 ปิดต่ำกว่าราคาปิดต่ำของ Wave 2 ก็จะทำให้ Wave 3และ4 ถูกลบออก และ Wave 2 จากที่เคยอยู่ในอดีต ก็จะเลื่อนมาแทนที่ ใน Wave 4 หรือ Bar ล่าสุดจะเป็น Wave 2 นั้นเอง)

      7. อย่างที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ในข้อ 5 ทันทีที่ Wave C ทะลุลงมาถึงจุดปิดต่ำสุดของ Wave A คลื่นที่ 5 จะถูกล็อคให้เข้าที่ ไม่ให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ไปไหนได้ (แต่ถ้าตลาดกำลังอยู่ในสถานะของ Wave C ซึ่งไม่ได้อยู่ในสถานะของ Wave B เหมือนข้อ 5 ที่ผ่านมา หากตลาดที่อยู่ใน Wave C ยังไม่ทะลุลงมาต่ำกว่า Wave A แต่ราคาดัน กลับปิดด้วยราคาที่สูง กว่าราคาปิดสูง ของ Wave 5 แทนที่ Wave A, B และ C จะถูกลบออก และ Wave 5 ย้ายไปตำแหน่งใหม่เหมือนข้อ 5 ที่ผ่านมา แต่จะให้ตัวชี้วัดจะจัดประเภทการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ให้ไปสู่การเคลื่อนตัวของตลาดใน Wave 1 ใหม่ทันที) เพราะมองว่าตลาดกำลังอยู่ Uptrend ขาขึ้น หรือ impulse wave ที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเอง

การพิจารณาราคาตลาด ในตลาดกระทิงหรือตลาดช่วงขาขึ้น
Responsive image

การพิจารณาราคาตลาด ในตลาดกระทิงหรือตลาดช่วงขาขึ้น

คลื่นที่ 1: รอให้ คลื่นที่1เกิดขึ้นก่อน
คลื่นที่ 2: ในการย้อนกลับลงมาเพื่อทำคลื่นที่ 2 ควรจะอยู่ที่บริเวณ 61.8%
คลื่นที่ 3: คำนวณคลื่นที่ 3 ด้วยวิธีดังต่อไปนี้กฎ TD D-Wave ของคลื่นที่ 3

รูปตัวอย่างการฉายภาพ Wave 3 แผนภูมิรายวันของ EURNOK แสดงการคาดคะเนการตีกลับของ Wave 3 ซึ่งคํานวณโดยการคูณส่วนต่างระหว่างราคาปิดตํ่าสุดที่ 0 และการปิดสูงที่ 1 ด้วย 1.618 แล้วบวกผลลัพธ์กับการปิดราคาตํ่าสุดที่ 0

      1. คำนวณความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้นของ Wave 1ในราคาปิดต่ำ และ ราคาปิดสูงของ Wave 1

      2. จากนั้นคูณค่าที่ได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ 1.618

      3. เพิ่มผลลัพธ์ที่ได้นี้ไปยังราคาปิดที่ต่ำกว่าของ Wave 1 ก็จะได้เป้าหมายที่คลื่น3จะวิ่ง

คลื่นที่ 4

       1. ถ้าคลื่นที่ 2 ย่อไม่ลึก นั่นคือประมาณ 38.2% ของความยาวคลื่นที่ 1 การคาดหวังว่าจุดฟื้นตัวของคลื่นที่ 4 ควรจะเป็น 61.8% ของช่วงเวลาที่ถูกครอบคลุมระหว่างราคาปิดต่ำและราคาปิดสูงของคลื่นที่ 3

       2. แต่ถ้าคลื่นที่ 2 ย่อลึก นั่นคือประมาณ 61.8% ของความยาวคลื่นที่ 1 การคาดหวังว่าจุดฟื้นตัวของคลื่นที่ 4 ควรจะเป็น 38.2% ของช่วงเวลาที่ถูกครอบคลุมระหว่างราคาปิดต่ำและราคาปิดสูงของคลื่นที่ 3

คลื่นที่ 5

รูปตัวอย่างการฉายภาพ Wave 5 แผนภูมิรายวันของ EURNOK แสดงการคาดคะเนการตีกลับของ Wave 5 คํานวณโดยการคูณความแตกต่างระหว่างการราคาปิดต่ำของ 2 และราคาปิดสูงของ 3 ด้วย 1.618 และเพิ่มผลลัพธ์ให้กับราคาปิดต่ำของ 2

       1. คำนวณความแตกต่างระหว่างจุดเริ่มต้นของ Wave 3ในราคาปิดต่ำ และ ราคาปิดสูงของ Wave 3

       2. จากนั้นคูณค่าที่ได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ 1.618

       3. เพิ่มผลลัพธ์ที่ได้นี้ไปยังราคาปิดต่ำของคลื่นที่ 3

คลื่นที่ c

      1. คำนวณความแตกต่างระหว่างราคาปิดสูงของ Wave A ราคาปิดต่ำของคลื่น A

      2. จากนั้นคูณค่าที่ได้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ 1.618

      3. ลบค่าที่ได้ออกจากราคาปิดสูงของคลื่น A

Responsive image
การจำแนกแยกแยะเป้าหมายสูงสุดสำหรับคลื่นที่ 5 และ C

การจำแนกแยกแยะเป้าหมายสูงสุดสำหรับคลื่นที่ 5 และ C

      โดยแรกเริ่ม Tom DeMark ได้พัฒนาหลักเกณฑ์ของตัวชี้วัด TD D-Wave เข้าสู่ระบบการขายเพื่อที่จะจำแนกและแยกแยะเป้าหมายสุดท้ายสำหรับคลื่นที่ 5 และ C
Responsive image
เป้าหมายการขึ้นสำหรับคลื่นที่ 5 กับตัวชี้วัด TD D-Wave

      1. คำนวณหาความแตกต่างระหว่างราคาปิดสูงและราคาปิดต่ำของคลื่นที่ 1

      2. คูณค่าที่ได้ด้วย 1.382

      3. เพิ่มผลลัพธ์ที่ได้ไปยังราคาปิดต่ำของคลื่นที่ 2 (ถ้าคลื่นที่ 3 เกินระดับนี้ คุณควรจะประยุกต์ใช้กับค่าสัมประสิทธิ์ 2.764 แทนค่าเดิม 1.382)

เป้าหมายการปรับตัวลงของราคาสำหรับคลื่น C กับตัวชี้วัด TD D-Wave

      1. คำนวณหาความแตกต่างระหว่างราคาปิดสูงและราคาปิดต่ำของคลื่น A

      2. จากนั้นลบผลลัพธ์ที่ได้จากราคาปิดสูงของคลื่น A

      3. และคูณด้วย 1.618

จำนวนแท่งเทียนหรือ bar พื้นฐานสำหรับ TD D-Wave

      ในแต่ละคลื่น (0,1,2,3,4,5,A,B,C) ก็จะมีดังนี้: 21-13-8-21-13-34-13-8-21 ซึ่งจะเป็นค่าพื้นฐานตามกฎของ Thomas DeMark.

การใช้ TD D-Wave คู่กับ RSI
feature

การใช้ TD D-Wave คู่กับ RSI

      โดยส่วนใหญ่ การนับ D-Wave ในการพิจารณาสถานการณ์ว่า จะทำเวฟถัดไปต่อ มีโอกาสเป็นจริงมากแค่ไหน โดย Thomas DeMark. เขาได้พบว่า การรวม TD D-Wave กับออสซิลเลเตอร์แบบโมเมนตัม เช่น Relative Strength Index (RSI) ของ Welles Wilder ทำให้เกิดข้อสรุปดังนี้

      โดยพื้นฐานแล้ว โซน RSI ที่ซื้อเกินและขายเกินจะกําหนดไว้ที่75 และ 25 แต่ Thomas DeMark ได้เห็นต่างจากกฎเกณฑ์ข้อนี้ โดยเขาได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า เกณฑ์ 75 และ 25 ดังกล่าว มีข้อบกพร่องในบางครั้งจากการพิจารณาตามหลักความเป็นจริง กับสถานการณ์จริงในตลาด เนื่องจาก RSI ได้มีการปรับเทียบระหว่าง 0-100 ตัวอย่างเช่น เมื่อตลาดอยู่ในช่างขาขึ้นหรือแข็งแกร่ง RSI มักจะไม่เข้าสู่เขตขายมากเกินไป(Oversold)ในระหว่างการปรับฐานลงของราคา

      สรุปการใช้ D-Wave คู่กับ RSI หากเราต้องการพิจารณาว่า แนวโน้มของตลาด ในช่วงที่ TD D-Wave บ่งบอกว่ากำลังอยู่ใน Wave 2,4นั้น เตรียมพร้อมที่จะจบเพื่อ ขึ้น/ลง ต่อใน Wave ถัดไปแล้ว คือ Wave 3,5 มีโอกาสเป็นจริงมากแค่ไหน เราควรพิจารณาจากองค์ประกอบเสริม นั้นคือ (RSI) เหมาะสมมากที่สุด โดยแนะนำ ให้คุณกำหนด RSI ที่ 40 และ 60 ในการพิจารณา แทนจะเป็น 75 และ 25

      ถ้าเมื่อไหร่ที่ตลาดกำลังจะเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาขึ้นหรือกำลังจะจบ corrective Wave แล้ว ที่สอดคล้องกับลำดับของการนับTDแท่งเทียน RSI จะต้องอยู่เหนือ 40 ในช่วง corrective waves 2 หรือ 4 เพื่อคาดหวัง Wave ถัดไป ที่กำลังจะมาถึง (ตามรูปด้านล่าง)

แนวโน้มขาขึ้น: TD D-Wave คู่กับ RSI

ในแผนภูมิรายวันของ USDCHF โปรดสังเกตว่า ความขัดแย้งในแนวโน้มขาขึ้นในแนวกว้าง พบแนวรับที่ ระดับ RSI ที่40 ได้อย่างไรแทนจะเป็น 25 ดังนั้น แทนที่จะพิจารณาว่าตลาดกำลังจะเคลื่อนที่เป็นขาลงต่อ จึงให้น้ำหนักว่าระดับ 40 เป็นแนวรับที่สำคัญที่จะปรับตัวเป็นขาขึ้นแทน ในคลื่น3,4 ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องรอให้ RSI อยู่ในระดับ 25

       ในทํานองเดียวกัน RSI ควรอยู่ต่ำกว่า 60 ในช่วงที่ตลาด กำลังปรับฐานที่เป็น Wave ขาลง ของ 2,4 ที่ TD D-Wave กำลังวาดคลื่นอยู่ (ตามรูปด้านล่าง)

แนวโน้มขาลง: TD D-Wave คู่กับ RSI

ในแผนภูมิรายวันของ USDCHF โปรดสังเกตว่าการขึ้นในแนวกว้าง พบแนวต้านที่ระดับ RSI ที่ 60 ได้อย่างไรแทนจะเป็น 75 ดังนั้น แทนที่จะพิจารณาว่าตลาดกำลังจะเคลื่อนที่เป็นขาขึ้นต่อของ2,4 จึงให้น้ำหนักว่าระดับ 60 เป็นแนวต้านที่สำคัญของ2,4 ที่จะปรับตัวเป็นขาลง ในคลื่น3,4 ต่อไป ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องรอให้ RSI อยู่ในระดับ 75